
กระบอกคอมแพค รุ่น ADVU |
- กระบอกลมกระบอกลมคอมแพ็ค กระบอกคอมแพค รุ่น ADVU
ประเภทและหลักการทำงานของกระบอกสูบ/กระบอกลม แบ่งออกป็น 3 ประเภทตามหลักการใช้งานดังนี้
- Single Acting Cylinders (SAC) คือ กระบอกสูบลมที่ใช้แรงดันในการเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวและจะมีสปริงอยู่ภายในเพื่อดันลูกสูบกลับเข้าที่ให้พร้อมใช้งานในครั้งต่อไป เหมาะกับการโหลดงานที่ไม่มากนัก เพราะสามารถใช้งานได้แม้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ
- linders (DAC) คือ กระบอกสูบลมที่ใช้แรงดันอากาศทั้งสองทางในการเคลื่อนที่โดยทำงานสลับ เมื่อด้านหนึ่งผลิตแรงดัน อีกด้านจะเป็นตัวจ่ายแรงดันอากาศ เหมาะกับงานที่ต้องการการเคลื่อนที่ในแนวตรงและระยะชักที่ยาว เพราะแรงดันอากาศจะมีความคงที่กว่ากระบอกสูบแบบทางเดียว
- Telescoping Cylinder คือ กระบอกสูบ/กระบอกลม แบบ Single หรือ Double ก็ได้ ถูกออกแบบมาให้มีกระบอกสูบหลาย ๆ ชั้นซ้อนอยู่ภายในจากตัวใหญ่แล้วเล็กลงเหมาะสำหรับการใช้งานที่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่เพราะสามารถยืด-หดความยาวของตัวกระบอกได้
กระบอกคอมแพครุ่น ACP |
ประโยชน์ของกระบอกสูบ/กระบอกลม
- กระบอกสูบ/กระบอกลม ถูกนำมาใช้งานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ด้านก่อสร้าง ด้านการผลิต หรือแม้แต่เครื่องมือวัดต่าง ๆ โดยจะใช้ในการ ดึง ยก หรือแม้กระทั่งการเปิด-ปิดประตู และยังสามารถยึดเก็บหรือนำอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ มาเป็นส่วนประกอบในกรรมมาวิธีการผลิตได้อีกด้วย เป็นการช่วยให้งานผลิตรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ควบคุมได้ง่ายจากอุปกรณ์นิวเมติก เช่น วาล์วควบคุมแรงดัน และยังสามารถเดินท่อเพื่อใช้งานได้ในระยะไกลอีกด้วย
- มีความปลอดภัยสูงเพราะใช้แรงดันอากาศจึงทำให้ไม่มีอันตรายจากการระเบิดหรือติดไฟ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงในการทำงาน
กระบอกคอมแพครุ่น CQ2 |
กระบอกลมนิวเมติกส์ กระบอกสูบนิวเมติกส์ (Pneumatic Air Cylinder) นั้นนับว่ามีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ยิ่งในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับรายการผลิตแบบอัตโนมัติแล้วนั้นแทบทุกส่วนของเครื่อง คงหลีกหนี้ไม่ได้ที่จะนำกระบอกสูบนิวเมติกส์ กระบอกลม (Air Cylinder) มาใช้งาน เช่น ในการจัดเรียงชิ้นงาน ยกชิ้นงานหรือการทำให้ชิ้นงานเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการและอาจนำเอากระบอกลมนิวเมติกส์ กระบอกสูบนิวเมติกส์ ไปประยุกต์ใช้งานได้อีกหลายอย่างเลยทีเดียว
กระบอกคอมแพครุ่น TGN / SDA |
- กระบอกลม/กระบอกสูบนิวเมติก (Air Cylinder/Pneumatic Cylinder) จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานลมอัดให้เป็นพลังงานกลลักษณะในการเคลื่อนที่ส่วนมากเป็นการเคลื่อนที่แบบเส้นตรง ในสมัยก่อนที่ลูกสูบลมจะเข้ามามีบทบาทในงานอุตสาหกรรมยังใช้กลไกทางกลและทางไฟฟ้า มีความยุ่งยากในการควบคุม และปัญหาของช่วงชักจำกัด ดังนั้นในอุตสาหกรรมสมัยใหม่จึงพัฒนาลูกสูบลมมาใช้ในงานจนถึงปัจจุบัน ตัวกระบอกลมมักจะทำด้วยท่อชนิดไม่มีตะเข็บ เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม ทองเหลือง สแตนเลสขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ใช้ ภายในท่อ จะต้องเจียรนัยให้เรียบ เพื่อลดการสึกหรอของซีลที่จะเกิดขึ้น และยังลดแรงเสียดทานภายในกระบอกสูบอีกด้วย ตัวฝาสูบทั้งสองด้านส่วนใหญ่นิยมการหล่อขึ้นรูป บางแบบอาจใช้การอัดขึ้นรูป การยึดตัวกระบอกสูบลมเข้ากับฝาอาจใช้เกลียวขัน เหมาะสำหรับกระบอกสูบที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่า 25 มิลลิเมตรลงมา ถ้าโตกว่านี้นิยมใช้สกรูร้อยขันรัดหัวท้าไว้ สำหรับก้านสูบอาจทำด้วยสแตนเลสหรือเหล็กชุบผิวโครเมียม ที่เกลียวปลายก้านสูบจะทำด้วยกรรมวิธีรีดขึ้นรูป
Post a Comment